อย่าให้ใคร ใช้ความน่ารัก น่าสงสาร ของคน สัตว์ สิ่งของ มาลวงเรา
สภาพป่าไม่สมบูรณ์ในพื้นที่สร้างเขื่อนแม่วงก์ (2 เม.ย 2558)
https://www.youtube.com/watch?v=QTXRlE1e99U&t=2m19s

สมัยอยุธยา ป่าไม้เต็มไปหมด น้ำป่ายังไหลหลากมาท่วม จนพม่าหนี้กลับบ้านไปเลย

อย่าอคติ ตีตนไปก่อนไข้ กลัวโกงก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ใครโกงต้องตรวจสอบ เปิดโปง อย่ากล่าวหาลอยๆ

ผมเกาะติดเรื่องแม่วงก์เพราะไม่ยอมปล่อยให้ใครทำลายประโยชน์ประชาชนโดยอ้างสัตว์-ป่าด้วยข้อมูลเท็จ

มีNGOsไหน คัดค้านตัดไม้ทำลายป่า สอนหิริโอตัปปะให้ชาวบ้านเลิกบุกรุกป่า รณรงค์เลิกซื้อของป่าไหม

NGOs ชอบเอาความกลัวมาหลอกเพื่อต้านเขื่อน . . . อย่ากลัว เขื่อนทั่วไทยมีแต่ดีกับป่า สัตว์ และคน

ความเท็จ: แม่วงก์ ป่าสมบูรณ์ เสือชุม ฯลฯ  ความจริง: ที่สร้างเขื่อนเป็นอดีตป่าเสื่อมโทรม ไม่เคยมีเสือ

ถ้ามีการลงประชามติ เชื่อว่า 238,486 คน จะเอาเขื่อน . . . UN จะฟังคนนอกหรือประชาชน

ถ้าไม่คุ้ม แล้วราชการจะโง่สร้างจริงหรือ ลองไตรตรองดีๆ อย่าเพิ่งเชื่อคำใส่ร้าย

ดีไหม ถ้าเสกเขื่อนให้หายหมดเหลือแต่ป่าดิบ แล้วไฟฟ้า ชลประทาน ประมง ท่องเที่ยวล่ะ

ถ้าป่าเก็บน้ำได้ จะมีน้ำป่าไหลหลากเหรอครับ ปี 2485 มีแต่ป่า น้ำยังท่วมใหญ่เลย

ที่สร้างเขื่อนแม่วงก์ไม่ใช่ป่าดงดิบแต่เป็นป่าเสื่อมโทรม แต่เพราะเตะถ่วงมานาน ต้นไม้ที่ปลูก/ฟื้นฟูจึงขึ้น

ป่าเขามากมายถูกบุกรุกทำลายแทบทุกวัน พวก NGOs นักค้านเขื่อน กลับเงียบเป็นเป่าสาก

NGOs เหนแก่เสือ 20 ตัว อายุขัย18ปี แต่ไม่เหนใจชาวนา 50,000คนที่มีอายุขัย 75ปี

ถ้าเขื่อนที่สร้างๆ มาไม่ดี ป่านนี้ NGOs จ้วงหนักไปแล้ว อย่าทำลายโอกาสช่วยชาวนาชาวไร่เลย

ถ้าสร้างเมื่อปี 2525 (3,761 ล้าน) ก็คุ้มทุนไปตั้งแต่ปีที่ 14 ถ้าสร้างในอีก 30 ปีจะเป็น 43,128 ล้านบาท

มีคนเอาถ่ายรูปสวยๆ ทั้งอุทยานมาอ้างเป็นที่สร้างเขื่อนซึ่งเล็กแค่ 0.1% ของผืนป่าตะวันตก อย่าเชื่อ

พอปี2525จะสร้าง ปี32ให้ทำeia ปี37ไปดูที่อื่น ปี41ทำปชพิจารณ์ ปี46ให้ทำคลองแทน ปี56บอกไม้โตแล้วห้ามสร้าง!?

คิดให้ดี ถ้ามีเสือจริงในพื้นที่สร้างเขื่อนแม่วงก์ จะมีบริการกางเต็นท์ในพื้นที่ดังกล่าวหรือ

ถ้ามีเขื่อนจะมีชายหาด และสัตว์น้ำเพิ่มมากมาย จนกลายเป็นแหล่งประมง/ท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติ ฯลฯ

ถ้าคุณเห็นแก่สัตว์ มากกว่าคน คุณก็ไม่มีความเป็นคนแล้วครับ

ที่อุทยานเขาสก เมื่อสร้างเขื่อนรัชชประภา เสือและสัตว์ป่าอื่นก็ยิ่งขยายพันธุ์ ไม่ได้สูญพันธุ์ไปไหน  

โปรด like www.facebook.com/maewongdam ด้วยครับผม
วิดิโอ คิดใหม่ก่อนต้านเขื่อนแม่วงก์ (คลิกในแต่ละช่องด้านล่างนี้)
เทปที่ 21: 02 เมษายน 2558

ฝายที่ NGOs เสนอทดแทนเขื่อนแม่วงก์ไม่ได้
เทปที่ 20: 02 เมษายน 2558

พิสูจน์ชัดมีแต่ไม้เล็กในพื้นที่สร้างเขื่อนแม่วงก์
เทปที่ 19: 02 เมษายน 2558

ทำไมไฟไหม้ป่าพื้นที่สร้างเขื่อนแม่วงก์
เทปที่ 18: 09 ธันวาคม 2557

จดหมายถึงนายกฯ ประชาชนต้องการเขื่อนแม่วงก์และข้อมูลเท็จของการคัดค้านเขื่อน
เทปที่ 17: 26 พฤศจิกายน 2557

คำชี้แจงเรื่องเขื่อนแม่วงก์ของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ในรายการเถียงให้รู้เรื่อง
เทปที่ 16: 26 พฤศจิกายน 2557

ออกรายการเถียงให้รู้เรื่อง: "เขื่อนแม่วงก์"
เทปที่ 15: 17 กรกฎาคม 2557

คุณวีระกร_แนวทางการสร้างเขื่อนแม่วงก์เพื่อประโยชน์ของประชาชน
เทปที่ 14: 10 กรกฎาคม 2557

ดร.สมเกียรติ_แนวทางการสร้างเขื่อนแม่วงก์เพื่อประโยชน์ของประชาชน
เทปที่ 13: 21 มกราคม 2557

แก่งลานนกยูง
เทปที่ 12: 17 มกราคม 2557

กรณีศึกษาเขื่อนรัชชประภา (ข้อดี-ข้อเสีย)
เทปที่ 11: 21 พฤศจิกายน 2556

ขบวนการสร้างภาพเรื่องเสือเพื่อต้านเขื่อนหรือไม่
เทปที่ 10: 19 พฤศจิกายน 2556

ป่าไม้ & เขื่อน : คิดใหม่ก่อนต้านเขื่อนแม่วงก์
เทปที่ 9: 14 พฤศจิกายน 2556

อย่ากลัวว่าแก่งลานนกยูง/ปลาหายเมื่อมีเขื่อนแม่วงก์
เทปที่ 8: 12 พฤศจิกายน 2556

WIN WIN สร้างเขื่อนแม่วงก์จะสร้างบางแสน2/พัทยา2 เป็นแหล่งท่องเที่ยว
เทปที่ 7: 07 พฤศจิกายน 2556

น้ำลดตอผุดที่เขื่อนสิริกิติ์
เทปที่ 6: 05 พฤศจิกายน 2556

ค้านเขื่อนแม่วงก์ด้วยความเข้าใจผิด 20 ประการ
เทปที่ 5: 31 ตุลาคม 2556

เขื่อนแม่วงก์กับสังคมอุดมปัญญา
เทปที่ 4: 29 ตุลาคม 2556

เขื่อนแม่วงก์
เทปที่ 3: 24 ตุลาคม 2556

สิงสาราสัตว์กับประชาชนกรณีเขื่อนแม่วงก์
เทปที่ 2: 22 ตุลาคม 2556

เขื่อนแม่วงก์
เทปที่ 1: 10 ตุลาคม 2556

ออกรายการที่นี่ MV5 เรื่อง ประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ส่วนใหญ่หนุนเขื่อนแม่วงก์
โปสเตอร์ คิดใหม่เพื่อสังคมอุดมปัญญา
บทความโต้กับ NGOs นักต้านเขื่อน(อ่านเพิ่มเติมโปรดคลิกในแต่ละหัวข้อด้านล่างนี้)
สิงสาราสัตว์กับประชาชนกรณีเขื่อนแม่วงก์
15 ตุลาคม 2556

          กรณีเสือที่นำมาอ้างว่าป่าอุดมสมบูรณ์นั้น ไม่มีอยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้างเขื่อน แม้อาจเฉียดผ่านมาบ้างซึ่งหากมีจริงก็คงทำให้ชาวบ้านแตกตื่นและหาทางป้องกันภัย สภาพป่าไม้ในพื้นที่ก่อสร้างก็ไม่ใช่ป่าดงดิบเป็นหลัก เมื่อก่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จ น้ำที่เคยแห้งในหน้าแล้ง ย่อมจะมีน้ำอุดมสมบูร์ แก่งนกยูง หาดทรายอีกมากเพื่อให้สรรพสัตว์มาใช้ ส่วนกรณีที่อาจมีการลอบตัดไม้ทำลายป่า บทบาทเชิงสร้างสรรค์ของ NGOs ก็สามารถดำเนินการได้ด้วยการจัดหน่วยสังเกตการณ์ อย่าให้ใครทำผิดกฎหมายได้

ผู้จัดทำเว็บไซต์นี้
 

        ผมมองต่างมุมกับ NGOs ฝ่ายค้านเขื่อน ใช่ว่าผมไม่รักสัตว์-ป่า แต่ตรองดูแล้วเหตุผลที่ค้านๆ กันไม่มีน้ำหนักเท่าที่ควร  ผมไม่ได้อยากดัง หาไม่คงไปมอบช่อดอกไม้ให้กำลังใจ อ.ศศิน จะได้ภาพที่ดีกว่า
        คงมีคนคิดต่างเหมือนผมมากมาย แต่ไม่มีใครอยากเปลืองตัว ไม่อยากให้ถูกด่าหยาบคาบต่าง ๆ นานา  แต่ผมไม่ถือเพราะพวกเขาคงไม่รู้จักผม  ผมมุ่งหวังให้เกิดสังคมอุดมปัญญา  ไม่ใช่แห่เชื่อตาม ๆ กันไป
        ผมจบปริญญาเอกด้านวางแผนพัฒนาเมืองจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย และยังได้ประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านพัฒนาที่อยู่อาศัยจาก ม.คาธอลิกลูแวง ด้านประเมินค่าทรัพย์สินจากสถาบันนโยบายที่ดินลินคอล์น เคยเป็นที่ปรึกษาขององค์การสหประชาชาติ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ธ.โลก ธ.เพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย ฯลฯ และเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงการคลังกัมพูชา บรูไน เวียดนาม อินโดนีเซีย
        ผมไม่เคยใช้สถานะใดๆ ของผมมารับประกันให้คนเชื่อ แต่หวังให้เกิดการถกเถียงด้วยเหตุผล  แม้ผมจะเคยสอนตั้งแต่ปริญญาตรี-เอกทั้งในไทยและต่างประเทศ ตลอดจนโรงเรียนนายร้อย จปร. สถาบันพระปกเกล้า ฯลฯ แต่ผมก็บอกทุกคนเสมอว่า "อย่าเชื่อเพียงเพราะเขาเป็นอาจารย์" (ตุลาคม 2551)
        ผมรณรงค์เพื่อป่าเสมอ ตั้งแต่ไปปลูกป่า เขียนบทความเพื่อป่ามานานแล้ว เช่น "อย่าปล่อยให้ "สืบ นาคะเสถียร" ตายฟรี" และอื่น ๆ ที่สำคัญ

      ผมยังเป็นประธานจัดประกวดเรียงความชิงโล่รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “อย่าซื้อที่ดิน สปก.4-01 ภบท.5 ผิดกฎหมายและทำลายป่า”